การจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน
  • 28 กันยายน 2566
  • 259 ครั้ง
การจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน
🌳🌳การจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน คือ กระบวนการจัดการสวนป่าที่เหมาะสม ตามเกณฑ์ที่เป็นยอมรับในระดับสากล เพื่อให้มีผลผลิตและบริการอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความยั่งยืน 3 ด้าน ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อม : แหล่งกักเก็บคาร์บอน , อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ , เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากรธรรมชาติ , การอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำ , ลดของเสียและมลภาวะ
2. เศรษฐกิจ : สร้างผลผลิตและบริการจากสวนป่าอย่างต่อเนื่อง มีกลไกที่น่าเชื่อถือ , ขับเคลื่อนกลไกตลาด และสร้างธุรกิจเชิงพาณิชย์ที่สามารถต่อรองกับตลาดระหว่างประเทศ , เกิดรายได้จากผลผลิต (เนื้อไม้) และบริการจากสวนป่า
3. สังคม : เกิดการจ้างแรงงาน/สร้างรายได้แก่ชุมชนรอบสวนป่า , ตอบสนองนโยบายของรัฐในการส่งเสริมป่าเศรษฐกิจ , ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนโดยรอบ , ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการสร้างอาชีพของชุมชน , ตรวจสอบได้/มีความถูกต้องตามกฎหมาย
🌳🌳ประโยชน์ของการได้รับการรับรอง “การจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล”
1. เพื่อการันตีได้ว่า “สินค้าไม้” มาจาก “สวนป่า” ที่มีการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน (Green Product)
2. เป็นที่ยอมรับของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น
3. การแสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สร้างความมั่นใจถึงแหล่งที่มาของไม้มีความถูกต้องตามกฎหมาย
4. เพิ่มมูลค่าผลผลิต (เนื้อไม้) บริการของสวนป่า และเพิ่มขีดความสามารถในการต่อรองราคาที่เหมาะสม
🌳🌳กระบวนการรับรอง (Certification Process)
1. สวนป่าเตรียมเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการขอการรับรอง
2. ยื่นขอรับรองการตรวจประเมินจากหน่วยงานตรวจรับรอง (CB)
3. หน่วยตรวจรับรองตรวจเอกสาร/หลักฐาน
4. หน่วยตรวจรับรองตรวจการปฏิบัติในพื้นที่สวนป่า
5. หน่วยตรวจรับรอง สัมภาษณ์คนงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
6. ติดตามผลการแก้ไขและรายงานผลการตรวจประเมิน
7. ให้การรับรอง/ไม่ให้การรับรอง
8. หน่วยตรวจรับรอง ตรวจติดตามทุกปี และตรวจประเมินใหม่ทุกๆ 5 ปี