ศัพท์ธรณีวิทยาน่ารู้ : การกัดกร่อน (erosion)
  • 26 มีนาคม 2567
  • 65 ครั้ง
ศัพท์ธรณีวิทยาน่ารู้ : การกัดกร่อน (erosion)
สถานที่ท่องเที่ยวอย่างลานหินปุ่ม จากลานหินทรายที่เต็มไปด้วยแนวรอยแยก (่joint) เป็นร่องในเนื้อหินตามแนวระนาบ ต่อมาจึงถูกน้ำฝนและน้ำผิวดินกัดเซาะเป็นร่องลึกขึ้นตามกาลเวลาตั้งแต่ยุคครีเทเชียสหรือกว่าร้อยล้านปี และเมื่อเนื้อหินตรงรอยแยกหายไป เนื้อหินที่เหลือจึงเป็นก้อนปุ่มมนมากมาย และปัจจุบันก็กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่น่าอัศจรรย์ในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก ปุ่มหินมนมากมายนั้น เกิดขึ้นการกัดกร่อนหรือการกร่อน (erosion) คือกระบวนการที่ธรณีวัตุหลุด ละลาย หรือสึกกร่อนตามธรรมชาติ ทั้งแรงดึงดูดของโลก กระแสน้ำ หรือกระแสลม
.
การกัดกร่อนทางธรณีวิทยาเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม ที่สามารถเปลี่ยนแปลงภูมิลักษณ์ทางธรณี ก่อเกิดแนวทางของแม่น้ำ ภูเขา หุบเขา การศึกษาที่มาหรือปัจจัยของกระบวนการนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนการจัดการทรัพยากรทางธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนไปในอนาคตได้
.
ภาพ: ลานหินปุ่ม อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี