ทรัพยากรธรณีจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • 26 มีนาคม 2567
  • 61 ครั้ง

ทรัพยากรธรณีจังหวัดฉะเชิงเทรา
.
หินแกรนิตเขาหินซ้อน เป็นหินแกรนิตเนื้อดอกที่มีเนื้อสวยงามสามารถนำมาทำหินประดับได้ พบที่เขาหินซ้อนและเขาหน้ามอด ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา
.
เขาหินซ้อนเป็นภูเขาหินแกรนิตที่เกิดจากการแทรกดันตัวขึ้นมาของแมกมา (magma) และเย็นตัวตกผลึกใต้ผิวโลกในช่วงยุคไทรแอสซิก (ประมาณ 245-210 ล้านปี) หินแกรนิตที่พบมีสีเทาและเทาขาวเนื้อปานกลางถึงหยาบ เป็นหินแกรนิตชนิดฮอร์นเบลนด์-ไบโอไทต์ ที่ประกอบด้วยแร่ควอร์ตช์ เฟลด์สปาร์ ฮอร์นเบลนด์และไบโอไทต์เป็นหลัก ทั่วไปมีเนื้อผลึกสองขนาดโดยพบแร่เฟลด์สปาร์เป็นแร่ดอก บางส่วนพบการแตกในลักษณะเป็นกาบ (exfoliation) บางบริเวณพบหินปลอมปน (xenolith) ที่เป็นหินภูเขาไฟชนิดหินแอนดีไซต์
.
ภาพ: หินแกรนิตเขาหินซ้อน ทรัพยากรธรณีจังหวัดฉะเชิงเทรา จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ แร่-หิน กรุงเทพฯ

ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี