คาร์บอนเครดิต จากแหล่ง Blue Carbon
  • 14 มีนาคม 2567
  • 89 ครั้ง

คาร์บอนเครดิตจากแหล่ง Blue Carbon คืออะไร
.บลูคาร์บอน (Blue Carbon) คือ การที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ถูกดูดซับและกักเก็บไว้ โดยมหาสมุทรและระบบนิเวศชายฝั่ง โดยระบบนิเวศเหล่านี้จะทำหน้าที่ กักเก็บคาร์บอน ในรูปแบบชีวมวลและการทับถมของตะกอนลงสู่ชั้นดิน จึงมีความสำคัญอย่างมากในการควบคุมและยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก

.แหล่งดูดซับของ Blue Carbon มีที่ไหนบ้าง
1. แหล่งดูดซับ Blue Carbon บริเวณชายฝั่งทะเล (Coastal blue carbon) เช่น ป่าชายเลน (Mangrove Forest) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Salt marsh) แหล่งหญ้าทะเล (Seagrass) เป็นต้น
2. แหล่งดูดซับ Blue Carbon ใต้ท้องทะเล (Marine blue carbon) เช่น ปะการัง (Coral) แพลงก์ตอน (Plankton) เป็นต้น

.จากสถานการณ์พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2547 มีพื้นที่ 1.49 ล้านไร่ , ปี 2557 มีพื้นที่ 1,534 ล้านไร่ และ ปี 2563 มีพื้นที่ 1,737 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ที่เป็นแหล่ง Blue Carbon นี้สามารถดึงคาร์บอนลงไปกักเก็บ ไว้ในใต้ดินได้ถึง 50-99% และมีศักยภาพสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ดีกว่าพื้นที่ป่าปกติถึง 4 เท่า

.โดยปัจจุบันนี้ TGO มีระเบียบวิธีการของการรับรองคาร์บอนเครดิตจากแหล่ง Blue Carbon แล้ว ภายใต้มาตรฐาน #โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ในรูปแบบ มาตรฐานขั้นสูง (Premium T-VER) ได้แก่ #กิจกรรมปลูกป่าชายเลน และ #กิจกรรมการฟื้นฟูป่าชายเลนและหญ้าทะเล

.ทั้งนี้ หากต้องการคาร์บอนเครดิตจาก Blue Carbon อาจจะต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนเพิ่มพูนมากขึ้น อาทิ การปลูก ดูแล อนุรักษ์ หรือการจัดการพื้นที่ป่าอย่างถูกวิธี, ไม่มีการนำไม้ออกจากโครงการในตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันเริ่มดำเนินโครงการ, การดำเนินกิจกรรมโครงการจะต้องไม่ก่อให้เกิดการรบกวนดิน เช่น การขุดหลุมปลูก การทำร่อง เป็นต้น, มีการสร้าง การฟื้นฟู และ/หรือการจัดการสภาพทางอุทกวิทยาของพื้นที่โครงการ เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติมระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก (T-VER Methodology) Premium T-VER สำหรับกิจกรรมปลูกป่าชายเลนและกิจกรรมการฟื้นฟูป่าชายเลนและหญ้าทะเล
https://ghgreduction.tgo.or.th/.../reduction-absorption...
.

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)