ธรณีวิทยาน่ารู้: ประติมากรรมธรรมชาติรูปร่างคล้ายซุ้มประตูเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 24 มีนาคม 2568
  • 90 ครั้ง

ธรณีวิทยาน่ารู้: ประติมากรรมธรรมชาติรูปร่างคล้ายซุ้มประตูเกิดขึ้นได้อย่างไร
.
ซุ้มหินธรรมชาติที่ตั้งตระหง่านเหนือกาลเวลาเรียกขานกันว่า "ซุ้มหินแห่งรักนิรันดร์" โดยเชื่อกันว่าคู่รักที่จับมือลอดผ่านซุ้มประตูนี้จะได้ครองคู่กันอย่างมีความสุขชั่วนิรันดร์ ตั้งอยู่ที่เกาะไข่หรือเรียกอีกชื่อว่า เกาะตะรัง ในจังหวัดสตูล เป็นเกาะขนาดเล็กที่อยู่กึ่งกลางระหว่างเกาะตะรุเตากับเกาะอาดัง และเกาะหลีเป๊ะ
.
มองด้วยจินตนาการจากภาพมุมสูง รูปร่างเกาะไข่มีส่วนคล้ายนก ที่มีส่วนปากและหัวอยู่ทางด้านทิศเหนือ และมีส่วนขาอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ตรงส่วนขาข้างหนึ่งของนกนี้เองที่มีประติมากรรมธรรมชาติอันถูกสลักเสลามาจากคลื่นน้ำและกระแสลมมาเนิ่นนาน กระทั่งปรากฏเป็นซุ้มหินชายฝั่งที่น่าตรึงใจ ซุ้มหินชายฝั่งทะเล (Sea arch) จัดเป็นภูมิลักษณ์ชายฝั่งทะเลแบบหนึ่งที่เกิดจากหินถูกกัดเซาะโดยคลื่นและระดับน้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลง จนเป็นโพรงหินทะลุถึงกัน กลายเป็นประติมากรรมธรรมชาติรูปร่างคล้ายซุ้มประตู อันเรียกขานกันว่า "ซุ้มหินแห่งรักนิรันดร์" โดยเชื่อกันว่าคู่รักที่จับมือลอดผ่านซุ้มประตูนี้จะได้ครองคู่กันอย่างมีความสุขชั่วนิรันดร์
.
ไม่เพียงแต่สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรณีที่สวยงาม อุทยานธรณีโลกสตูลยังมีซากดึกดำบรรพ์สัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์ ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยในยุคแคมเบรียน หรือกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว
.
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี