อยากให้รักเรายาวนาน จนกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์
.
ธรณีวิทยาน่ารู้ : จะรู้ได้อย่างไรว่าซากดึกดำบรรพ์อายุเท่าไหร?
.
ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่เก็บรักษาตามธรรมชาติและหลงเหลือเป็นหลักฐานของสิ่งมีชีวิตที่เคยเกิดขึ้นมาบนโลก ค้นพบซากดึกดำบรรพ์เกิดขึ้นอยู่ทุกมุมโลก ตั้งแต่ขนาดเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ ไปจนถึงขนาดใหญ่มหึมาหลายสิบเมตร การวัดขนาดสามารถใช้การมองเห็นได้แต่อายุของซากดึกดำบรรพ์นักธรณีใช้วิธีอะไรในการตรวจสอบ
.
การหาอายุของซากดึกดำบรรพ์มีทั้งการเทียบเคียงอายุชั้นหินตามมาตราธรณีกาล อย่างยุคของไดโนเสาร์เริ่มต้นที่ยุคไทรเอสซิกหรือเมื่อประมาณ 250 ล้านปีก่อน แต่การหาอายุที่แน่นอน หรือ อายุสัมบูรณ์ (absolute age) ของซากดึกดำบรรพ์และหิน นักธรณีวิทยาและนักบรรพชีวินตรวจหาอายุจากสารกัมมันตภาพรังสี (radiometric age dating) ซึ่งเทคนิคนี้เป็นการวิเคราะห์และคำนวณหาอายุจากไอโซโทปของราตกัมมันตรังสีที่เป็นองค์ประกอบในซากดึกดำบรรพ์และหิน มีหลักการสำคัญ คือ การเปรียบเทียบอัตราส่วนของธาตกับมันตรังสีที่เหลืออยู่ (daughter product) กับไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีตั้งต้น (parent isotope) และค่าเวลาครึ่งชีวิต (half-life period) ของธาตุกับมันตรังสีที่พบในอายุของชั้นหินหรือซากดึกดำบรรพ์นั้น ๆ
.
การเลือกใช้ธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดมาคำนวณอายุของตัวอย่างที่วิเคราะห์นั้นจะขึ้นกับช่วงเวลาครึ่งชีวิตของ ธาตุกับมันตรังสีนั้น ๆ ที่อยู่ในตัวอย่าง เช่น วิธี C-14 (parent)- N-14 (daughter) มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,730 ) จะใช้สำหรับวิเคราะห์อายุหิน ไม้ และกระดูก ที่มีอายุระหว่าง 100 - 70,000 ปี และ วิธี U-238 (parent) - Pb-206 (daughter) มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 4,500 ล้านปี เหมาะสำหรับใช้วิเคราะห์อายุซากดึกดำบรรพ์และหินที่มี zircon เป็นองค์ประกอบ และมีอายไม่เกิน 4,600 ล้านปี เป็นต้น ทั้งนี้การคำนวณอายุของซากดึกดำบรรพ์และหิน ยังใช้วิธีการศึกษาการตกตะกอนของชั้นหินในแหล่งที่คืนพบซากดึกตำบรรพ์ร่วมด้วย เพื่อให้ใด้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
.
ข้อมูลโดย กองวิเคราะห์และตรวจสอบทรัพยากรธรณีและกองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
.
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี