ศัพท์ธรณีวิทยาน่ารู้: รอยพิมพ์ของพืช (plant imprint)
  • 24 มีนาคม 2568
  • 58 ครั้ง
ศัพท์ธรณีวิทยาน่ารู้: รอยพิมพ์ของพืช (plant imprint)
.
ซากสิ่งมีชีวิตที่ถูกฝังตามธรรมชาติมักจะเหลือแต่โครงร่างแข็ง เช่น กระดูก หรือเปลือกนอก และการค้นพบซากดึกดำบรรพ์นั้นยากมากด้วยเงื่อนไขของการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ทีเกิดขึ้นให้สภาพแวดล้อมที่พอเหมาะ ซากดึกดำบรรพ์พืชอย่างใบไม้ ดอกไม้ ไม่มีโครงร่างแข็งจึงกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ในรูปแบบของ รอยพิมพ์ของพืช มักพบเป็นรอยพิมพ์คาร์บอน (carbon imprint) ที่ถูกแปรสภาพด้วยความร้อนและความดันที่กดทับส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ส่วนใบหรือลำต้นที่ฝังตัวอยู่ในตะกอน และความร้อนนั่นเองที่กำจัดสารอิ่นทรีย์หรือธาตุอื่นๆ อย่างไฮโดรเจนและออกซิเจน คงเหลือแค่คาร์บอนไว้ และปรากฏเป็นรายพิมพ์สีดำของถ่าน (แกรไฟต์) ที่ประทับบนหิน ซากดึกดำบรรพ์รอยพิมพ์ของพืชสามารถพบได้ในชั้นหินดินดาน หินโคลน หินทรายแป้ง ในประเทศไทยมักพบตามแอ่งสะสมตะกอนบริเวณจังหวัดลำพูน พะเยา เพชรบูรณ์
.
ภาพ: ตัวอย่างรอยพิมพ์คาร์บอนพืชกลุ่มเฟิร์นที่พบในต่างประเทศ

ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี