.

ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: จากภัยพิบัติบนฝั่งถึงวิกฤตใต้ทะเล

คลื่นพายุซัดฝั่งรุนแรงขึ้น เกิดภัยพิบัติ (น้ำท่วม น้ำกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม)

ปะการังฟอกขาว (อยู่ในน้ำอุ่น & มีค่ากรดสูงจนตาย) แนวปะการังอาจตายหมดภายในปี 2100 สัตว์น้ำย้ายถิ่นฐานหนีคลื่นน้ำอุ่น แนวปะการัง & ป่าชายเลนตาย
.

ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: ชายฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปราะบางต่อโลกรวน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ 1 ในภูมิภาคที่เปราะบางที่สุด หลายเมืองอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ และเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
.

ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: 24 จังหวัดชายทะเลไทยในภาวะโลกรวน
24 จังหวัดชายทะเลไทย ฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด ฝั่งอ่าวไทย 18 จังหวัด ถ้าภูมิอากาศยังรวนต่อ จังหวัดชายทะเลไทยจะเจอภัยพิบัติรุนแรง
.

ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: ที่อยู่ ปากท้อง และทรัพยากรในท้องทะเล

วิกฤติด้านที่อยู่อาศัย: ที่อยู่ โครงสร้างสาธารณูปโภคเสียหาย ชายฝั่งโดนกัดเซาะ

วิกฤติทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ: ทรัพยากรทางทะเลเสียหาย อัตราการเกิดของสัตว์น้ำลดลง

วิกฤติทางเศรษฐกิจ: การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ต่างส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่พึ่งพิงหรือตั้งอยู่ริมทะเลและชายฝั่ง
.

ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: ตั้งรับ ยืดหยุ่น ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
“การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Climate Change Adaptation) คือการกระทำที่ลดความเปราะบางต่อผลกระทบของโลกรวน แม้ว่าถ้าเราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ผลกระทบของโลกรวนจะยังกระทบต่อเราอีกหลายสิบปี
.

4 จังหวัดริมฝั่งอ่าวไทยรับมือโลกรวนโดยใช้ธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง
ระยอง เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา คือ 4 จังหวัดนำร่องโครงการ “การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งตามแนวอ่าวไทย”
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ UNDP และกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
สนับสนุนโดยกองทุนภูมิอากาศสีเขียว หรือ Green Climate Fund (GCF)
ที่มา : กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม