ศัพท์ธรณีวิทยาน่ารู้: หลุมยุบ (sinkhole)
  • 26 มีนาคม 2567
  • 1,452 ครั้ง
พท์ธรณีวิทยาน่ารู้: หลุมยุบ (sinkhole)
.
หลุมยุบ เป็นธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่กิจกรรมของมนุษย์สามารถเร่งให้เกิดเร็วขึ้นได้ พบได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่ใต้ผิวดินเป็นหินปูน หินโดโลไมต์ และหินอ่อน ซึ่งหินเหล่านี้ละลายได้ในน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดโพรงหรือถ้ำใต้ดินขึ้น และเมื่อเพดานต้านทานน้ำหนักของดินและสิ่งก่อสร้างที่กดทับด้านบนไม่ไหว จึงพังทลายเป็นหลุมยุบ
.
สาเหตุหลักของการเกิดหลุมยุบที่พบในประเทศไทยมักเกิดจากมีโพรงใต้ดินในบริเวณนั้น ต่อมาเพดานโพรงยุบตัวลง อาจเนื่องจากการสูบน้ำใต้ดินทำให้ขาดแรงพยุงเพดานโพรง หรือแรงสั่นสะเทือนจากการที่มียานพาหนะสัญจรไปมาในบริเวณใกล้เคียง/แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว จึงทำให้เพดานโพรงพังทลายลงเกิดเป็นหลุมยุบขึ้น
.
พบเหตุธรณีพิบัติภัยแจ้ง...ง่ายนิดเดียว
☑️ แผ่นดินไหว
☑️ ดินถล่ม / น้ำป่าไหลหลาก
☑️ หลุมยุบ
☑️ สึนามิ
กรมทรัพยากรธรณี เปิดช่องทางใหม่ "ทราฟฟี่ฟองดู (Traffy Fondue)" ในการแจ้งพบเหตุธรณีพิบัติภัยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน รับชมวิิธีใช้งานได้ในคลิปวิดีโอ คลิกลิงก์ https://youtu.be/yARZbFMaobs?si=3M6HQ1w1OeLO9Bmr
สำหรับช่องทางแจ้งเหตุเมื่อพบเหตุธรณีภัยพิบัติ ติดต่อได้ที่
กรมทรัพยากรธรณี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2621-9500
ในเวลา 08.30-16.30 น.
.
ภาพ: เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี ตรวจสอบหลุมยุบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 พบหลุมยุบกลางไร่ข้าวโพดของชาวบ้านขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 8 เมตร ลึก 3 เมตร ในพื้นที่บริเวณบ้างมุง หมู่ 2 ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก

ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี